วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

             การทำงานร่วมกันหรือความร่วมมือกันของกลุ่มคนสามารถทำให้เกิดสิ่งต่าง ที่ดีขึ้นและง่ายขึ้นดังแนวคิดการมส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและการนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ รวมทั่งการพัฒนาด้านสุขภาพของชุมชน ด้วยเหตุผลที่ว่า “การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินงานให้เกิดเป็นชุมชนที่มีสุขภาพดี”

ดังนั้น การสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ เช่น การเกิดโรคระบาด การเกิดอุบัติภัย และความไม่ปลอดภัย รวมทั่งการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆ คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อดำเนินแก้ไขปัญหา ทั้งในเรื่องกำลังผล องค์ความรู้ ทรัพยากร และเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิดความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง และทำให้ง่ายต่อการสร้างแนวร่วมทางด้านสุขภาพในระดับที่ใหญ่ขึ้น ในระดับของสังคม และระดับประเทศชาติ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ต่อไป

กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชนนั้น

ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชนดังนี้
1.การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอแนะความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน
2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ วางแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกโดยส่วนรวม โดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาสุขภาพ ช่วยกำกำหนดกิจกรรมหรือโครงการสุขภาพของชุมชนรวมทั้งช่วยกันระดมทรัพยากรด้านกำลังคน กำลังทรัพย์ และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย
3.การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพที่กำหนดไว้ โดยสมาชิกในชุมชนต้องร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของโครงการ หรือกิจกรรมสุขภาพที่ได้วางแผนไว้
4.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น ร่วมกันตรวจสอบผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพของชุมชน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน
5.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาชิกในชุมชนนำผลการทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

ตัวอย่างการสร้างแนวร่วมในชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เช่น การจัดกิจกรรมแอโรบิกเพื่อสุขภาพ การก่อตั้งเครือข่ายป้องกันสารเสพติดในชุมชน การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ และรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพของชุมชน การก่อตั้งชมรมเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากคนร้ายและอาชญากรรม การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน หรือการก่อตั้งศูนย์ความรู้ภูมมิปัญญาทางการแพทย์ของชุมชน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น